ประวัติความเป็นมาของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติฯ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ เคเอสแอล ริเวอร์แคว
“KSL ตามรอยพระราชา สร้างคุณค่าให้ยั่งยืน”
ประวัติศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ เคเอสแอล ริเวอร์แคว จ.กาญจนบุรี
ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้ในปี พ.ศ. 2550 คุณจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ได้ตัดสินใจนำพนักงานของกลุ่ม KSL เข้าฝึกอบรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตามคำแนะนำของอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อาจารย์ยักษ์) ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้ดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเองให้ได้โดยพึ่งพาอาศัยกัน มีความสามัคคีกันและดำรงอยู่อย่างพอเพียงภายใต้พระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นบริษัทฯ จึงเล็งเห็นแนวคิดที่สำคัญเพื่อการได้ส่งเสริมให้พนักงานได้เรียนรู้วิถีของการพึ่งพาตนเองสำหรับดูแลตนเองและครอบครัว ในการนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานขององค์กร
จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ทางบริษัทฯ ได้คำนึงถึงผลของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน และเพื่อให้เกิดผลของการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม จึงจัดตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ เคเอสแอล ริเวอร์แคว ขึ้นบนพื้นที่ของริเวอร์แคว ปาร์ค แอนด์ รีสอร์ท ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านหมอเฒ่า ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมีคุณพิริย์พล ชินธรรมมิตร์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเคเอสแอล ริเวอร์แคว และคุณวัชรินทร์ บุญญวินิจ เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเคเอสแอล ริเวอร์แคว นับแต่นั้นเป็นต้นมาศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ เคเอสแอล ริเวอร์แคว ก็เป็นศูนย์กลางของบริษัทในการฝึกอบรมเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์ของพระราชาให้กับพนักงานในเครือของบริษัทฯ ในกลุ่ม KSL GROUP รวมทั้งชาวบ้าน ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจากจังหวัดต่างๆ เพื่อให้พนักงานและผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง เดินตามแนวทางขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สามารถพึ่งตนเองให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจและสภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปได้
โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2563 ปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ในระยะเวลา 3 เดือนหลังเกิดภาวะการระบาดจะส่งผลอย่างเห็นได้ชัดเจนว่า “ความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร” คือ ทางรอดของภาวะวิกฤตนี้ โดยใช้ฐานเรียนรู้สู่ความพอเพียงที่ได้ทำการรวบรวมองค์ความรู้จากศูนย์แม่ข่าย การศึกษาเพิ่มเติมและปราชญ์ชุมชน ทั้งหมด 18 ฐาน ดังต่อไปนี้